วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson learned 16 24/11/2015






Lesson learned 16  
24/11/2015

ความรู้ที่ได้รับ

 ** เพื่อนนำเสนอ บทความ  วิจัย และโทรทัศน์ครู หน้าชั้นเรียน **





นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้ 
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  ของตนเองอย่างเหมาะสม 
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์






นางสาว รัชดา   เทพรียน เลขที่ 5     

บทความ เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
 
     หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย      การเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ






นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก เลขที่1

วิจัย เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

       การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์

ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ขอบเขตของการวิจัย    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์

     จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ






นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2
วิจัย  ชื่อการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย

 
    โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมุติฐาน 
     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย3.เก็บรวบรวมข้อมูล4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่องเช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัยผลการวิจัย    
      จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น







นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8
โทรทัศน์ครู เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์

เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
 ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณครูโยน ปรากฎว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม
- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่นจากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร



  
Skill  (ทักษะ)
อาจารย์ให้คนที่ยังไม่นำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู มานำเสนอ

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ บทความ วิจัยและโทรทัศน์ครู
 
Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นผู้ฟังที่ดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงเวลาให้ความรู้ต่อให้ความรู้เพิ่มเติมในของแต่ละบทความวิจัยและโทรทัศน์

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

ห้องกว้าง บรรยากาศเย็นสบาย  







Lesson learned 15 21/11/2015






Lesson learned 15 
21/11/2015


 อาจารย์ให้ออกไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

ความรู้ที่ได้รับ


งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

หนังตะลุง

คือ การแสดงประเภทหุ่นเงาที่นิยมเป็นอย่างมากในจังหวัดทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสันนิษฐานว่าการเล่นหนังตะลุงไทย น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากหุ่นเงาแถบมลายูตัวหุ่นทำจากหนังวัวหรือหนังควายมาฉลุและลงสีจนเกิดเป็นตัวละครมากมาย

หลักการของเงาและแสงตกกระทบ

แสงที่ผ่านตัวหนังตะลุงทำให้เกิดเงาบนจอ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลอดไฟ เงาที่เห็นจะเปลี่ยนขนาด ตำแหน่งตามการเคลื่อนที่ของตัวหนังตะตุง เงาที่เป็นสีเกิดเพราะหนังตะลุงที่มีสีซึ่งเป็นวัตถุที่ไปวงแสงการฉายภาพยนต์ด้วยฟิล์มก็เป็นเรื่องของแสงและเงา

เฮลิคอปเตอร์

บินได้โดยใช้แรงยกจากลมที่เกิดจากใบพัดที่หมุน เรียกว่า แรงดันใต้ปี

แรงยกจอมพลัง

คอปเตอร์ไม้ไผ่หมุนได้อย่างไรใบไม้ของคอปเตอร์ไม้ไผ่และก็หมุนบินออกแบบเป็นเกลียว ด้านหนึ่งเชิตขึ้น อีกด้านจะเชิตด้วยเกลียว เมื่อใบพัดหมุนไปทั้งสองด้านจะดันอากาศเองเกิดแรงยกตัวเลือกเหมือนกับการยกตัวของ ใบพัดเฮลิคอปเตอร์เครื่องบินและ ว่าว

ทำไมถึงมีเสียงจักจั่นจึงเกิดเสียง

            เสียงของจั๊กจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนไปแกรนด์ไม้ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษแล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงสั่นด้วยความถี่ที่เท่ากันกับการสั่นของเชือก

 พลังงานลม

                เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลมและมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย)มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทยมีความเร็วอยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร

พลังงานจักรยานปั๊มน้ำ

Hydraulic Ram pump หรือที่คนไทยเรียกกันในชื่อว่า ตะบันน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้น และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายร้อยปี เป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งน้ำขึ้นไปบนที่สูง โดยใช้พลังงานที่มีอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์มาเป็นตัวขับดัน

 พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ พลังงานที่เกิดจากแสงและพลังงานที่เกิดจากความร้อน
1. พลังงานที่เกิดจากแสง รูปแบบการนำพลังงานของแสงอาทิตย์มาใช้งาน แบ่งอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับวิธีการในการจับพลังงานแสง การแปรรูปให้เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง และการแจกจ่ายพลังงานที่ได้ใหม่นั้น รูปแบบแรกเรียกว่า แอคทีพโซลาร์ เป็นการใช้วิธีการของ โฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar thermal เพื่อจับและเปลี่ยนพลังงานของแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนโดยตรง อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ พาสซีฟโซลาร์ เป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ การออกแบบอาคารในประเทศหนาวให้รับแสงแดดได้เต็มที่
2. พลังงานที่เกิดจากความร้อน เช่นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานคลื่น เป็นต้น
ตัวอย่างรูปแบบ แอคทีพโซลาร์ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยวิธี โฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar photovoltaics เช่นเซลล์แสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนของแสงอาทิตย์ หรือ solar thermal electricityการผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ solar heating

มหัศจรรย์แห่งแสง

            แสง เป็นพลังงานที่อยู่ในรูปที่สายตามนุษย์สามารถจะมองเห็นได้ แสงเกิดจากการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า กำลังเคลื่อนที่ ลำแสงแรกสุดในจักรวาลนี้เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ อาจจะเกิดขึ้นมาก่อนหรือพร้อมๆ กับการระเบิดครั้งใหญ่ในจักรวาลที่เรียกกันว่า Big Bang เวลาผ่านไปอีกหมื่นล้านปี ระบบสุริยะจักรวาลพร้อมดาวเคราะห์บริวารได้กำเนิดขึ้น และถือเป็นการเกิดขึ้นของแสงที่ก่อให้เกิดชีวิตขึ้นมาในระบบสุริยจักรวาล




บรรยากาศในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558













Skill  (ทักษะ)
อาจารย์ให้ออกไปศึกษานอกสถานที่ในงานมหกรรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558
        Self Evaluation  (ประเมินตนเอง)
    นำความรู้ที่ได้มาใช้สอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

        Rated friend (ประเมินเพื่อน)     

   แต่งกายถูกระเบียบให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม

        Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)   

     อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อมูลในการเข้าร่วมกิจกรรม

         Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

     สถานที่กว้าง เหมาะกับการจัดกิจกรรม










Lesson learned 14 17/11/2015







  Lesson learned 14  
 17/11/2015 



ความรู้ที่ได้รับ
  
   อาจารย์ให้ทำ ข้าวจี่ ขนมโค และหวานเย็น 

** กิจกรรมการทำ ข้าวจี่ **


เตรียมอุปกรณ์ในการทำ ข้าวจี่

                  อุปกรณ์มี ดังนี้

1.ข้าวเหนียว 
2.ไข่ไก่          
3.ไก่หยอง     
4.ซอสปรุงรส   
5.ไม้เสียบข้าวจี่   
6.ถ้วย           
7.จาน            
8.เตาไฟฟ้าสำหรับทำข้าวจี่







ขั้นตอนการทำ 


1.นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆเเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบเข้าไปตรงกลาง 






2.จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน 



 3. เมื่อข้าวเปลี่ยนสีนำมาชุบกับไข่ไก่







4.ข้าวจี่สุกเหลืองกลิ่นหอมสีสันน่ารับประทานพร้อมตกแต่งหน้าตาให้สวยงาม




กระบวนการทางวิทยาศาตร์

1.กำหนดปัญหา = เด็กคิดว่าทำยังไงให้ไข่สุกเเละทานได้

2.สมมติฐาน = ถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดอะไรขึ้นคะ

3.เก็บรวบรวมข้อมูล = ให้เด็กสังเกตเเละลงมือทำ

4.สรุปกิจรรม = ข้าวจี่เหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน



** กิจกรรมการทำ ขนมโค **





เตรียมอุปกรณ์ในการทำขนมโค

                                                             
         อุปกรณ์มี ดังนี้

1.แป้งข้าวเหนียว
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลแว่น 
4.มะพร้าวขูด 
5.หม้อต้ม
6.สีผสมอาหาร 
7.น้ำ



ขั้นตอนการทำขนมโค

1.ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ จากนั้นเทสีผสมอาหาร 
และคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน



2.นำไส้มาใส่โดยไส้ที่เตรียมไว้มี น้ำตาลก้อน ไส้เค็มและไส้หวาน
ใส่ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ



3. นำมาต้มโดยใส่ลงไปในหม้อที่น้ำเดือด
เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุก




 4. เมื่อขนมโคสุกพร้อมโรยมะข้าวเป็นอันเสร็จสิ้นน่ารับประทาน






กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


1.กำหนดปัญหา = เด็กคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินขนมโค


2.สมมติฐาน = เมื่อนำขนมที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆเเล้วเอาลงไปในน้ำเดือดๆเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ


3.เก็บรวบรวมข้อมูล = ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ


4.สรุปกิจกรรม = ขนมโคเหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน




** กิจกรรมการทำ หวานเย็น **




เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ หวานเย็น

      อุปกรณ์มี ดังนี้
1.น้ำหวาน
2.น้ำแข็ง
3.เกลือ
4.กะละมัง
5.แก้ว
6.ช้อน
7.ถ้วย



ขั้นตอนการทำ



1.ตักน้ำเเข็งใส่กาละมังใหญ่พอสมควรเเละเติมเกลือลงไป

จากนั้นเทน้ำหวานใส่ถ้วยเล็ก


2.เขย่าไปกันคนละทางบนถ้วยน้ำเเข็งพร้อมทั้งคนไปทิศทางเดียวกัน


3.เวลาผ่านไปน้ำหวานที่เหลวๆจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็ง
เเละจับตัวกันเป็นเหมือนน้ำเเข็งใส

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. กำหนดปัญหา = เด็กทำยังไงถึงจะเป็นหวานเย็นได้คะ
  2. สมมติฐาน = ถ้าครูเขย่าน้ำหวานไปมาบนน้ำเเข็งเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ
  3. เก็บรวบรอวข้อมูล = จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ
  4. สรุปกิจกรรม = หวานเย็นเหมาะสำหรับการทำเป็นกลุ่ม







Skill  (ทักษะ)
   อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาทำ ข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็น โดยให้ลงมือกระทำด้วยตนเองและสังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปของในแต่ละกิจกรรมว่ามีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ยังไงบ้าง

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

  มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่

Rated friend (ประเมินเพื่อน)
  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
   อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้คำแนะนำอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรมพร้อมสรุปให้ฟังอย่างเข้าใจ

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
  ห้องกว้างสะอาดเย็นสบาย