วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson learned 14 17/11/2015







  Lesson learned 14  
 17/11/2015 



ความรู้ที่ได้รับ
  
   อาจารย์ให้ทำ ข้าวจี่ ขนมโค และหวานเย็น 

** กิจกรรมการทำ ข้าวจี่ **


เตรียมอุปกรณ์ในการทำ ข้าวจี่

                  อุปกรณ์มี ดังนี้

1.ข้าวเหนียว 
2.ไข่ไก่          
3.ไก่หยอง     
4.ซอสปรุงรส   
5.ไม้เสียบข้าวจี่   
6.ถ้วย           
7.จาน            
8.เตาไฟฟ้าสำหรับทำข้าวจี่







ขั้นตอนการทำ 


1.นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆเเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบเข้าไปตรงกลาง 






2.จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน 



 3. เมื่อข้าวเปลี่ยนสีนำมาชุบกับไข่ไก่







4.ข้าวจี่สุกเหลืองกลิ่นหอมสีสันน่ารับประทานพร้อมตกแต่งหน้าตาให้สวยงาม




กระบวนการทางวิทยาศาตร์

1.กำหนดปัญหา = เด็กคิดว่าทำยังไงให้ไข่สุกเเละทานได้

2.สมมติฐาน = ถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดอะไรขึ้นคะ

3.เก็บรวบรวมข้อมูล = ให้เด็กสังเกตเเละลงมือทำ

4.สรุปกิจรรม = ข้าวจี่เหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน



** กิจกรรมการทำ ขนมโค **





เตรียมอุปกรณ์ในการทำขนมโค

                                                             
         อุปกรณ์มี ดังนี้

1.แป้งข้าวเหนียว
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลแว่น 
4.มะพร้าวขูด 
5.หม้อต้ม
6.สีผสมอาหาร 
7.น้ำ



ขั้นตอนการทำขนมโค

1.ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ จากนั้นเทสีผสมอาหาร 
และคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน



2.นำไส้มาใส่โดยไส้ที่เตรียมไว้มี น้ำตาลก้อน ไส้เค็มและไส้หวาน
ใส่ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ



3. นำมาต้มโดยใส่ลงไปในหม้อที่น้ำเดือด
เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุก




 4. เมื่อขนมโคสุกพร้อมโรยมะข้าวเป็นอันเสร็จสิ้นน่ารับประทาน






กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


1.กำหนดปัญหา = เด็กคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินขนมโค


2.สมมติฐาน = เมื่อนำขนมที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆเเล้วเอาลงไปในน้ำเดือดๆเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ


3.เก็บรวบรวมข้อมูล = ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ


4.สรุปกิจกรรม = ขนมโคเหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน




** กิจกรรมการทำ หวานเย็น **




เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ หวานเย็น

      อุปกรณ์มี ดังนี้
1.น้ำหวาน
2.น้ำแข็ง
3.เกลือ
4.กะละมัง
5.แก้ว
6.ช้อน
7.ถ้วย



ขั้นตอนการทำ



1.ตักน้ำเเข็งใส่กาละมังใหญ่พอสมควรเเละเติมเกลือลงไป

จากนั้นเทน้ำหวานใส่ถ้วยเล็ก


2.เขย่าไปกันคนละทางบนถ้วยน้ำเเข็งพร้อมทั้งคนไปทิศทางเดียวกัน


3.เวลาผ่านไปน้ำหวานที่เหลวๆจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็ง
เเละจับตัวกันเป็นเหมือนน้ำเเข็งใส

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. กำหนดปัญหา = เด็กทำยังไงถึงจะเป็นหวานเย็นได้คะ
  2. สมมติฐาน = ถ้าครูเขย่าน้ำหวานไปมาบนน้ำเเข็งเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ
  3. เก็บรวบรอวข้อมูล = จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ
  4. สรุปกิจกรรม = หวานเย็นเหมาะสำหรับการทำเป็นกลุ่ม







Skill  (ทักษะ)
   อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาทำ ข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็น โดยให้ลงมือกระทำด้วยตนเองและสังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปของในแต่ละกิจกรรมว่ามีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ยังไงบ้าง

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

  มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่

Rated friend (ประเมินเพื่อน)
  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
   อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้คำแนะนำอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรมพร้อมสรุปให้ฟังอย่างเข้าใจ

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
  ห้องกว้างสะอาดเย็นสบาย







  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น