วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


สรุปโทรทัศน์คูร

  • โทรทัศน์ครู เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์ อนุบาล 1/3
  • กิจกรรมเป่าฟองสบู่
  •     โดยอุปกรณ์มีดังนี้ 
  • 1 แก้วน้ำ
  • 2.น้ำยาสบู่
  • 3.น้ำเปล่า
  • 4.แว่นตา
  • 5.หลอด
  • คุณครูถามนักเรียนว่า ถ้าคุณครูเป่าลมลงไปในแก้วน้ำที่มีน้ำยาฟองสบู่จะเกิดอะไรขึ้นนั้นนั้นคุณครูเป่าให้กับเด็กๆดูปรากฏคือ เกิดฟองสบู่ต่อมาคุณครูก็ถามนักเรียนต่อว่าถ้าคุณครูเป่าลมในแก้วน้ำที่มีน้ำเปล่าจะเกิดอะไรขึ้นจากนั้นคุณครูก็เป่าลมในแก้วน้ำที่มีแต่น้ำเปล่าปรากฏว่า ไม่มีเกิดอะไรขึ้น  จากนั้นคุณครูได้ให้นักเรียนออกมาทดลองเล่นโดยมีเตรียมที่เตรียมไว้ให้แล้วเด็กๆเกิดการเรียนรู้และสนุกกับกิจกรรม
  •      สรุปผลการทดลองจะพบว่า 
  • น้ำสบู่ เมื่อเป่าน้ำสบู่จะเกิดแรงดันกับน้ำสบู่ที่มีแรงตึงผิวน้ำสบู่จึงเกิดฟอง
  • น้ำเปล่า เพราะเมื่อเป่าแล้วน้ำคงสภาพเดิมเพราะน้ำมีแรงตึงผิวมาก เมื่อมีแรงดันน้ำ น้ำจึงคงรูปร่างได้




สรุปงานวิจัย

งานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ของ วณิชชา  สิทธิพล

ปีที่วิจัย  ตุลาคม 2556

ภูมิหลัง

    ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมากมายเช่นการสื่อสารการคมนาคมการแพทย์การศึกษาเป็นต้นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็คือผลของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วชีวิตแต่ละคนจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องการฝึกให้กับเด็กจนสามารถนำไปใช้อย่างคล่องแคล่วและเกิดความชำนาญในการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะ เหมาะสมกับเรื่องราวหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยการลงมือกระทำสำรวจสืบค้นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับพื้นฐานความคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้เน้นให้เด็กเห็นเห็นว่าเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ผู้ใหญ่เดียวสภาพแวดล้อมให้โดยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้จักของจริงผ่านกระบวนการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากของจริงผ่านกระบวนการ
    ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจในการจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพรซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้การคิดการวางแผนการเรียงลำดับขั้นตอนตลอดจนใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย

      การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรโดยมีความหมายเฉพาะดังนี้
1.เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและก่อนและหลังการจัดกิจกรรม


ความสำคัญของการวิจัย

        ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับครูและผู้วิจัยเกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยให้มีแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นอีกแนวทางหนึ่งซึ่ง กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากกระบวนการทำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยวิธีการอื่นในลักษณะเดียวกันได้กว้างขวางมากขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 15 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำปางาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน

ตัวแปรที่ศึกษา 

1. ตัวแปรต้น   ได้แก่  การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. ตัวแปรตาม  ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนก
2.3 การวัด
2.4 การสื่อสารความหมายข้อมูล

สมมติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร




Lesson learned 12 3/11/2015





Lesson learned 12 
3/11/2015


ความรู้ที่ได้รับ

วิเคราะห์การเขียนของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 เรื่องยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 เรื่องร่างกายของฉัน
กลุ่มที่ 3 เรื่องชุมชนของฉัน
กลุ่มที่ 4 เรื่องต้นไม้แสนรัก


***เกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาศตร์
  • สังเกต
  • ตั้งสมมุติฐาน
  • รวบรวมข้อมูล
  • สรุป
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • สังเกต
  • จำแนก
  • วัด / หาค่า
  • การสื่อความหมาย
  • นำเสนอ
  • การลงความเห็น
  • มติสัมพันธ์
  • คำนวณ






Skill  (ทักษะ)
    อาจารย์ให้นักศึกษานำแผนไปติดหน้าห้องแล้วให้นักศึกษาไปศึกษาแผนทุกแผนของเพื่อนแล้วนำสิ่งที่เพื่อนมีตัวเองไม่มีมาวิเคราะห์แล้วเขียนลงแผนของตัวเอง

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

     มาเรียนตรงเวลาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

 Rated friend (ประเมินเพื่อน) 

     เพื่อนตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

 
Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)  

     อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่งการสุภาพเรียบร้อย

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)  

     ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย












Lesson learned 11 27/10/2015






Lesson learned 11 
27/10/2015


ความรู้ที่ได้รับ

ร่วมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และทำของเล่นวิทยาศาสตร์



1. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง  
       1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน
       2.ให้แต่ละคนนำกระดาษมาตัดให้เป็นกลีบดอกไม้ 4 ส่วน 
       3.ระบายสีให้สวยงาม
       4.ส่งตัวแทนในกลุ่ม 1 คน ตักน้ำใส่ถาดมากลุ่มละ 1 ถาด 
       5.ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำดอกไม้ของตนเองที่ทำไว้ลอยลงไปในถาดพร้อมๆกัน
       6.สังเกตและบันทึกผล

สรุปผลการทดลอง 
       ดอกไม้ของบางกลุ่มมีการเคลื่อนที่และค่อยๆบานออกแต่ก็มีทั้งจมและลอยแตกต่างกันออกไป 
      





2. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง
   นำขวดพลาสติกมาเจาะรู 3 ระดับ (บน กลาง ล่าง) 
จากนั้น นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะไว้แล้วเทน้ำลงไปให้เต็มขวดแล้วปิดฝาขวด
จะพบว่าเมื่อเปิดเทปกาวออกของแต่ละรูจะเกิดแรงดันของน้ำ ตามดังนี้
1.เปิดเทปกาวรูที่ 1 ด้านบนสุดออก พบว่า ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล แต่ถ้าเปิดฝาขวดน้ำจะค่อยๆไหลออกตามรู 
2.เปิดเทปกาวรูที่ 2 ตรงกลางออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรกกว่ารูที่1
3.เปิดเทปกาวรูที่ 3 ด้านล่างสุดออก พบว่า น้ำไหลพุ่งแรงกว่ารูที่ 1 และรูที่2

        





3. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง  
       เทน้ำลงในขวดจนเต็มน้ำไหลผ่านหลอดไปจนถึงชามที่มีน้ำพุจำลอง (น้ำไหลลงจากที่สูงลงจากที่ต่ำจะยิ่งทำให้น้ำไหลได้ดี)



4.กิจกรรม การทดลองเทียนไข
  เทียนดับเพราะว่าเมื่อเทียนมีการเผาไหม้เนื้อเทียนที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนก็จะเผาไหม้โดยรวมกับออกซิเจนกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยปกติก็าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิเท่ากันแต่เนื่องจากมันเป็นผลจากการเผาไหม้มันจึงร้อนมากมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศที่เย็นกว่ามันจึงลอยขึ้นไปที่สูงไปสะสมที่ส่วนบนของขวดโหลแก้วมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อมันสะสมจนล้อมรอบเปลวไฟของเทียนที่สูงกว่ามันจะผลักดันออกซิเจนไม่ให้สามารถเข้ามาเผาไหม้เนื้อเทียนได้เทียนจึงดับ






5. กิจกรรม : ลูกยางกระดาษ

วิธีการทดลอง  

     ตัดกระดาษเอ 4 แบ่งออกเป็น 8 ส่วน แบ่งกับเพื่อนคนละส่วน
จากนั้นนำมาพับตัดเป็น 2 ส่วนครึ่งนึงส่วนอีกครึ่งพับเป็นฐานแล้วนำคลิปมาติดไว้ที่ฐานที่พับไว้จากนั้นลองเล่น



6. กิจกรรม : ไหมพรมเต้นระบำ

วิธีการทดลอง  
       1.อุปกรณ์ หลอด ไหมพรม 
       2.ให้นักศึกษานำไหมพรมสอดเข้าไปในหลอดแล้วมัดปม
       3.ให้นักศึกษาลองเป่าหลอดดู 

***จะพบว่าไหมพรมที่อยู่ในหลอดมีการเคลื่อนไหวจากแรงที่เป่าขึ้นอยู่ว่าเป่าเบาหรือแรง






Skill (ทักษะ)
   อาจารย์ให้ทำกิจกรรมสังเกตและจดบันทึกในการทำกิจกรรม

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)
  ตั้งใจทำกิจกรรมทุกกิจกรรม


Rated friend (ประเมินเพื่อน)
  ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี


Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
   ห้องเรียนแอร์เย็นสบาย 






วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson learned 10 20/10/2015







Lesson learned 10  
20/10/2015

ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนนำเสนองานวิจัย

นางสาว ปรางชมพู บุญชม  เลขที่ 10


เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
       ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์



นางสาว ชนากานต์ แสนสุข  เลขที่ 11


เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


     ผ่านทักษะการสืบเสาะ ต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ มีการเเลกเปลี่ยน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาตัวเเปรต้น แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตัวแปรตาม การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเด็ก โดยการเขียนแผนให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น
- เล่นสนุกกับน้ำ เป็นการฝึกการสังเกต การลงความเห็น สเปซกับเวลา
- เล่านิทานริมน้ำ จากนั้นให้เด็ฏมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มๆ แจกขวดน้ำ แชมพู หรือขวดยาสระผม ให้เด็ก 
ขวดที่ไม่มีน้ำกับขวดที่มีน้ำมีลักษณะอย่างไรครูแนะนำให้เด็กยืนเเถวเรียงเเต่ละกลุ่ม ให้เด็กที่อยู่หัวเเถวบีบขวดที่มีน้ำให้ได้ระยะทางไกลที่สุด และสลับกันทุกคน





เก็บตก ของ นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์  เลขที่ 20


 เรื่อง การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณได้


    โดยเด็๋กเป็นผู้ลงมือปฎิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กจะได้สังเกตวัสดุ  อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผลและการประเมินค่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด  ขณะที่ทำกิจกรรม

ระดมความคิดภายในกลุ่ม การทำ Cooking  ข้าวจี่




วัสถุดิบ
  • ไข่ไก่
  • หมูหยอง
  • ซอสถั่วเหลือง
  • เกลือ
  • ไม้เสียบข้าวจี่
  • น้ำตาล


วิธีทำ
  • ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามชอบ  
  • ใส่ไส้หมูหยองและใช้ไม้เสียบข้าวที่ปั้นไว้จะได้ง่ายเวลาย่าง
  • ไฟตอกไข่ไก่ ตีไข่ให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาลและซอสปรุงรส
  • เมื่อเตาย่างได้ที่ นำข้าวปั้นขึ้นย่างไฟ
  • จากนั้นนำข้าวจี่ชุบไข่แล้วนำกลับไปปิ้งให้สุก หากใครชอบไข่หนาๆก็ชุบหลายรอบ เราชอบไข่หนาๆก็ชุบจนไข่หมด




Skill (ทักษะ)
อาจารย์ให้เพื่อนนำเสนองานวิจัยและให้นักศึกษาระดมความคิดการทำ Cooking ในหน่วยที่กลุ่มของตัวเองรับผิดชอบ

Self Evaluation (ประเมินตนเอง)
มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการช่วยกันคิด Cooking

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนตั้งใจขณะที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่งกายมาสอนถูกระเบียบ 

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

ห้องเรียนสะอาดกว้างเย็นสบาย










Lesson learned 9 13/10/2015





Lesson learned  9
13/10/2015
ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนนำเสนอบทความ


นางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
สสวท ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเด็ก กิจกรรมที่จัดจะเกี่ยวข้องกับโลกมีอยู่ 2 กิจกรรม
1.หวานเย็นชื่นใจ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองจนเด็กได้รู้คำตอบ
2.โมบายเริงลมสอนเรื่องอากาศโดยใช้โมบายให้เด็กได้พิสูจน์สืบเสาะสังเกตและได้นำเอาวิทยาศาสตร์มาสอนแบบบูรณาการ

นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
ให้เด็กเรียนรู้การสำรวจการอนุรักษ์ธรรมชาติพร้อมกับผู้ปกครองเพื่อให้เกิดพัฒนาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตั้งคำถาม การสืบเสาะหาข้อมูล การคาดคะเน การสังเกตุ และการตั้งคำถาม

นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
แม่เหล็กเป็นเรื่องที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องที่แปลก เพราะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่ใหญ่เข้าไปหาแม่เหล็ก

อาจารย์ให้นำของเล่น ของเพื่อนอีกเซตมาดู

1. แผ่นส่อแล้วเกิดสี
2.ว่าว
3.ของเล่นที่ทำจากแม่เหล็ก
4.รถ
5.ขวดน้ำแม่เหล็ก

พื่อนนำเสมอสื่อ ของเล่นตามมุม การทดลอง

มีเรื่อง   หน่วยร่างกายของฉัน
            หน่วยชุมชน
            หน่วยยานพาหนะ
            หน่วยต้นไม้แสนรัก


หน่อยที่ได้รับผิดชอบในการทำ หน่วยชุมชน


                                                    ชื่อการทดลอง เรือไม้จิ้มฟัน



อุปกรณ์

  • ไม้จิ้มฟัน
  • แชมพู


วิธีการทดลอง

1.นำไม้จิ้มฟันไปตกแต่งเป็นธงสัญลักษณ์ต่างๆ
2.ทาแชมพูตรงปลายไม้จิ้มฟัน
3.นำไปลอยในน้ำ ไม้จิ้มฟันจะพุ่งไปข้างหน้า

สิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้

       1.ไม่จิ้มฟัน  ที่มาแชมพูจะทำให้แรงตึงผิวของน้ำบริเวณนั้นลดลงไม่จิ้มฟันจึงถูกแรงตึงของน้ำต้านตรงข้ามดึงทำให้พุ่งไปด้านที่มาแชมพูไว้ เพราะ แชมพูมีความสามารถในการลดแรงตึงผิวน้ำ
       2.สารแชมพู คือ สารซัลเฟต ที่มีฤทธิ์เป็นเบส เกลือของกรดซัลฟิวริก และซัลเฟตไม่มีอันตรายร้ายแรง มีอีกชื่อเรียกว่า สารตึงผิว ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆอากจากร่างกาย ทำให้เกิดฟองจำนวนมาก

กรอบมาตราฐาน ข้อที่3 เรื่องสารและสสาร



ชื่อของเล่นตามมุม  ส่องนิดคิดหน่อย






อุปกรณ์


  • กล่องกระดาษ
  • กระดาษแข็ง
  • กระดาษสีดำ
  • กาวสองหน้า
  • กรรไกร
  • สีสำหรับตกแต่ง 
  • หลอดไฟ
ขั้นตอนการทำ

  • นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นสี่ส่วนวาดภาพลงในกระดาษแข็งที่ตัดไว้พร้อมระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
  • จากนั้นนำภาพที่วาดและตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้วมาแปะข้างในกล่องกระดาษ
  • เจาะรูบริเวณส่วนบนของกล่องเพื่อทำการใส่หลอดไฟ
  • เจาะรู 4 รูบริเวณส่วนหน้าของกล่องให้เด็กส่อดูภาพที่อยู่ภายในกล่อง


วิธีเล่น

ให้เด็กส่อขณะที่ยังไม่ได้เปิดไฟเพื่อดูภาพข้างในกล่องว่ามีอะไรบ้างจากนั้นทำการเปิดไฟแล้วให้เด็กส่อ ดูอีกครั้งและถามเด็กว่าในกล่องมีภาพอะไรบ้าง

สิ่งที่เด็กจะได้รับจากการเรียนรู้
แสงเป็นพลังงานที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น  เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ แสงเดินทางผ่านตัวกลาง แสงกระทบกับวุตถุแล้วจะสะท้อนกลับให้ตาเรามองเห็นวัตถุนั้นๆ

 กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สาระที่ 5 เรื่องพลังงาน


Skill (ทักษะ)
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมและให้นักศึกษานำของเล่นมาช่วยกันคิดวิเคราะห์และนำเสมอของตามมุม การทดลองของแต่ละกลุ่ม

Self Evaluation (ประเมินตนเอง)
ทำงานที่ได้รับมอบมายมาส่งตรงเวลาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Rated friend (ประเมินเพื่อน)
ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาส่งตรงเวลาตั้งใจเรียนที่อาจารย์กำลังสอน

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
สอนและปล่อยตรงเวลา และให้ความรู้เพิ่มเติมอย่างละเอียดเข้าใจ

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาดแอร์เย็นอุปกรณ์สะดวกต่อการใช้งาน