Lesson learned 6
15/09/2015
ความรู้ที่ได้รับ
เรื่องสมอง
1. การทำงานของสมอง
แบ่งออกเป็น ดังนี้
สมองมีหน้าที่
ทำงานเกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึกทั้งหมด และควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อทุกประเภททั้งที่ควบคุมโดยระบบประสาทมอเตอร์วึ่งเราสามารถสั่งการและควบคุมได้(เช่น กล้ามเนื้อ แขน ขา) และอวัยวะที่เราไม่สามารถสั่งการควบคุมได้โดยตรงแต่จะทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ และต่อมในอวัยวะภายในต่าง ๆ นอกจากนี้สมองยังทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของอวัยวะในระบบต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานในระดับสูงของระบบประสาท เช่น ความจำ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ การคำนวณ การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษา เป็นต้น
การทำงานของสมองนั้น สมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา และสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย เชื่อว่าคนที่ถนัดขวาจะมีสมองซีกซ้ายที่พัฒนามากกว่าสมองซีกขวา
สมองซีกซ้าย
เป็นส่วนควบคุม ความสามารถในการใช้ภาษาไม่ว่าเป็นการรับฟัง การอ่าน การพูดหรือการเขียน การคิดคำนวณ ความคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงตรรก และพบว่าผู้ที่มีปัญหาของสมองซีกซ้าย มักมีอาการอัมพฤกษ์ของร่างกายซีกขวาพร้อมๆ กับสูญเสียความสามารถในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนไปด้วย
สมองซีกขวา
พัฒนามากกว่าสมองซีกซ้าย มักมีความสามารถทางศิลปะ มีความรู้สึกด้านมิติสีสันดี และมีจินตนาการความสามารถของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันนั้น เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการฝึกฝน การเรียนรู้ และการพัฒนาของสมองทั้งสองซีกในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน
- เรื่องของการเปลี่ยนแปลง
- มีความแตกต่าง
- มีการปรับตัว
- การพึ่งพา
- ความสมดุล
กีเสล
พัฒนาการเป็นไปตามแบบแผนและเป็นขั้นตอนเกิดเรียนรู้ จากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา
ดิวอี้
เรียนจากการกระทำ
เฟรอเบล
การส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยกานกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างคิกสร้างสรรค์และอิสระ
เอลคายน์
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายแก่เด็ก
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลัมพัฒนาการทุกด้าน
หลักการการปฏิบัติพัฒนากับเด็ก
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการเน้นให้เด็กช่วยเหลือตัวเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขจัดกิจกรรมต้องสมดุลเย็ดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์ครอบครัวและชุมชน
การเรียนรู้จักการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้จักการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนา ทักษะ สังเกต เปรียบเทียบ จำแนก แก้ไขปัญหา การคิดสร้างสรรค์
- กิจกรรมโครง การกิจกรรมประจำวัน การเล่น การทดลอง นอกสถานที่ กิจวัตรประจําวัน เป็นต้น
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
- ขั้นตอนกำหนดปัญหา
- ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นรวบรวมข้อมูล
- ขั้นข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- มีเหตุผล
- ซื่อสัตย์
- มีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง
วิทยาศาสตร์
สำคัญ
- ตอบสนองความต้องการ
- พัฒนาทักษะกระบวนการ
- ส่งเสริมประสบการณ์ประสบการณ์
ประโยชน์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทย์
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
Skill (ทักษะ)
ระดมความคิด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของสมองตามความเข้าใจของตนเอง ลงในกระดาษ และแลกเปลี่ยนความคิดวิทยาศาสตร์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์
Self Evaluation (ประเมินตนเอง)
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี
Rated friend (ประเมินเพื่อน)
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและการตอบคำถามดีมาก
Evaluating teacher (ประเมินอาจารย์)
อาจารย์แต่งกายถูกระเบียบ มาสอนตรงเวลา สอนเข้าใจเตรียมการสอนได้ดี
Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาด เย็นและเย็นต่อการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น