วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson learned 7 22/09/2015






Lesson learned  7 
22/09/2015

ความรู้ที่ได้รับ

      นำเสนอสื่อที่ทำ : ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย 

ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัตดุเหลือใช้

ชื่อของเล่น    โทรศัพท์จ๊ะจ๋า

       อุปกรณ์
-          - แก้วกระดาษ
-          - ด้ายไหมพรม
-          - ไม้จิ้มฟัน
-          - สีเทียน
-          - กรรไกร

ขั้นตอนการทำ

เตรียมอุปกรณ์





นำแก้วกระดาษเจาะรูที่ก้นแก้ว




            นำเชือกที่เตรียมไว้สอดปลายเชือกตรงรูแก้วทั้งสองใบแล้วผูกเชือกปมไว้เพื่อป้องกันเชือกหลุด 




ตกแต่งแก้วกระดาษให้สวยงามน่าสนใจ


ผลงาน โทรศัพท์จ๊ะจ๋า



วิธีเล่น
-          ดึงเชือกให้ตึงเวลาพูด อีกฝ่ายเอาจ่อปากระหว่างพูดและอีกฝ่ายจ่อหูระหว่างฟังสลับกันพูดและฟังเสียงเพื่อความสนุกสนาน

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
-          เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลางซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดาอากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง เมื่อเราพูดในกระบอกแก้ว จะเปรียบเสมือนเป็นอากาศปิด เพราะฉะนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง ในที่นี้จะใช้เส้นด้ายที่อยู่ระหว่างเส้นด้ายทั้ง2 จึงทำให้ได้ยิน แต่ถ้าเมื่อเราไปรบกวนตัวกลาง โดยเอามือจับไว้ เป็นผลให้เราไม่ได้ยินเสียง

เพื่อนนำเสนองานวิจัย

นางสาววราภรณ์ แทนคำ
เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนกำ
         วิจัยชั้นอนุบาล 1 เทอม 2 
สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ที่สอนอยู่ 5 หน่วย คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี ผลไม้น่าทาน ต้นไม้เพื่อนรัก ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่า การสร้างชุดกิจกรรมนี้เพื่อนำมาพัฒนาทักษะเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
          
นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย เสกสรร มาตวังแสง
   การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาความคิด วิจารณญาณได้โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมที่เด็กจะได้สังเกตวัสดุ อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงและสรุปผลการทดลอง
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าใจด้วยตนเอง

นางสาวยุภา ธรรมโครต
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย
    เป็นการจัดกิจกรรมโดยใช้ธรรมชาติเป็นหลักในการจัดกิจกรรม ทดลองสีจากธรรมชาติให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองทำให้เด็กเกิดทักษะจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์





Skill (ทักษะ)  
อาจารย์ให้ออกมานำเสนอของเล่นพร้อมกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ 

Self Evaluation (ประเมินตนเอง)
ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจฟังขณะที่เพื่อนเสนอของเล่น

Rated friend (ประเมินเพื่อน)    
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย   

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)  
อาจารย์มาสอนตรงเวลาสอนโดยการให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานและให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาดกว้างเย็นสบาย


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น