วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson learned 9 13/10/2015





Lesson learned  9
13/10/2015
ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนนำเสนอบทความ


นางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
สสวท ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเด็ก กิจกรรมที่จัดจะเกี่ยวข้องกับโลกมีอยู่ 2 กิจกรรม
1.หวานเย็นชื่นใจ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองจนเด็กได้รู้คำตอบ
2.โมบายเริงลมสอนเรื่องอากาศโดยใช้โมบายให้เด็กได้พิสูจน์สืบเสาะสังเกตและได้นำเอาวิทยาศาสตร์มาสอนแบบบูรณาการ

นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
ให้เด็กเรียนรู้การสำรวจการอนุรักษ์ธรรมชาติพร้อมกับผู้ปกครองเพื่อให้เกิดพัฒนาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตั้งคำถาม การสืบเสาะหาข้อมูล การคาดคะเน การสังเกตุ และการตั้งคำถาม

นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
แม่เหล็กเป็นเรื่องที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องที่แปลก เพราะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่ใหญ่เข้าไปหาแม่เหล็ก

อาจารย์ให้นำของเล่น ของเพื่อนอีกเซตมาดู

1. แผ่นส่อแล้วเกิดสี
2.ว่าว
3.ของเล่นที่ทำจากแม่เหล็ก
4.รถ
5.ขวดน้ำแม่เหล็ก

พื่อนนำเสมอสื่อ ของเล่นตามมุม การทดลอง

มีเรื่อง   หน่วยร่างกายของฉัน
            หน่วยชุมชน
            หน่วยยานพาหนะ
            หน่วยต้นไม้แสนรัก


หน่อยที่ได้รับผิดชอบในการทำ หน่วยชุมชน


                                                    ชื่อการทดลอง เรือไม้จิ้มฟัน



อุปกรณ์

  • ไม้จิ้มฟัน
  • แชมพู


วิธีการทดลอง

1.นำไม้จิ้มฟันไปตกแต่งเป็นธงสัญลักษณ์ต่างๆ
2.ทาแชมพูตรงปลายไม้จิ้มฟัน
3.นำไปลอยในน้ำ ไม้จิ้มฟันจะพุ่งไปข้างหน้า

สิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้

       1.ไม่จิ้มฟัน  ที่มาแชมพูจะทำให้แรงตึงผิวของน้ำบริเวณนั้นลดลงไม่จิ้มฟันจึงถูกแรงตึงของน้ำต้านตรงข้ามดึงทำให้พุ่งไปด้านที่มาแชมพูไว้ เพราะ แชมพูมีความสามารถในการลดแรงตึงผิวน้ำ
       2.สารแชมพู คือ สารซัลเฟต ที่มีฤทธิ์เป็นเบส เกลือของกรดซัลฟิวริก และซัลเฟตไม่มีอันตรายร้ายแรง มีอีกชื่อเรียกว่า สารตึงผิว ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆอากจากร่างกาย ทำให้เกิดฟองจำนวนมาก

กรอบมาตราฐาน ข้อที่3 เรื่องสารและสสาร



ชื่อของเล่นตามมุม  ส่องนิดคิดหน่อย






อุปกรณ์


  • กล่องกระดาษ
  • กระดาษแข็ง
  • กระดาษสีดำ
  • กาวสองหน้า
  • กรรไกร
  • สีสำหรับตกแต่ง 
  • หลอดไฟ
ขั้นตอนการทำ

  • นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นสี่ส่วนวาดภาพลงในกระดาษแข็งที่ตัดไว้พร้อมระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
  • จากนั้นนำภาพที่วาดและตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้วมาแปะข้างในกล่องกระดาษ
  • เจาะรูบริเวณส่วนบนของกล่องเพื่อทำการใส่หลอดไฟ
  • เจาะรู 4 รูบริเวณส่วนหน้าของกล่องให้เด็กส่อดูภาพที่อยู่ภายในกล่อง


วิธีเล่น

ให้เด็กส่อขณะที่ยังไม่ได้เปิดไฟเพื่อดูภาพข้างในกล่องว่ามีอะไรบ้างจากนั้นทำการเปิดไฟแล้วให้เด็กส่อ ดูอีกครั้งและถามเด็กว่าในกล่องมีภาพอะไรบ้าง

สิ่งที่เด็กจะได้รับจากการเรียนรู้
แสงเป็นพลังงานที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น  เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ แสงเดินทางผ่านตัวกลาง แสงกระทบกับวุตถุแล้วจะสะท้อนกลับให้ตาเรามองเห็นวัตถุนั้นๆ

 กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สาระที่ 5 เรื่องพลังงาน


Skill (ทักษะ)
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมและให้นักศึกษานำของเล่นมาช่วยกันคิดวิเคราะห์และนำเสมอของตามมุม การทดลองของแต่ละกลุ่ม

Self Evaluation (ประเมินตนเอง)
ทำงานที่ได้รับมอบมายมาส่งตรงเวลาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Rated friend (ประเมินเพื่อน)
ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาส่งตรงเวลาตั้งใจเรียนที่อาจารย์กำลังสอน

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)
สอนและปล่อยตรงเวลา และให้ความรู้เพิ่มเติมอย่างละเอียดเข้าใจ

Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)
ห้องเรียนสะอาดแอร์เย็นอุปกรณ์สะดวกต่อการใช้งาน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น